พระนาคปรก ยุคสุวรรณภูมิ ศิลปะเขมร อายุราวๆ 500ปี+
ศิลปะลพบุรี หรือ ศิลปะขอมในประเทศไทย อายุเวลาของศิลปะกลุ่มนี้ประมาณ พ.ศ. 1100
หรือพุทธศตวรรษที่ 12 จนถึงประมาณ พ.ศ. 1700 กว่า หรือพุทธศตวรรษที่ 18
คํานิยามโดยทั่วไป
ศิลปะที่พบในดินแดนไทย ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12 –18 โดยมีลักษณะเดียวกัน หรือ
ใกล้เคียงกันกับศิลปะในประเทศกัมพูชา คือ หน้าตาอาจจะเหมือนกันไม่ผิดเพี้ยนหรือผิดเพี้ยนเล็กน้อย
ชื่อเรียกแบบต่างๆ ที่ปัจจุบันมีคนเรียกกัน
1. ศิลปะลพบุรี
• ความสําคัญของเมืองลพบุรี คือ ในช่วงที่วั�'นธรรมเขมร หรืออาณาจักรกัมพูชาสมัย
โบราณเรืองอํานาจและแพร่เข้ามาถึงประเทศไทย เมืองลพบุรีที่เป็นจังหวัดลพบุรีในปัจจุบัน เป็นดินแดนสําคัญ
ในเขตภาคกลาง จึงเรียกว่าศิลปะลพบุรี
• ประเด็นการเมืองในสมัยรัชกาลที่ 4 - 6 ในประเทศไทยเริ่มศึกษา ด้านโบราณคดี
ประวัติศาสตร์ และศิลปกรรมอย่างจริงจังในช่วงรัชกาลที่ 4 , 5 และ 6 ในช่วงเวลานั้นเกิดลัทธิที่เรียกว่า
“ล่าอาณานิคม” โดยมีการครอบครองเขมร พม่า ลาว อินโดนิเชีย ซึ่งอยู่รอบข้างเรายกเว้นไทยที่ไม่ตกอยู่ใน
อํานาจการครอบครองของใคร ถ้านักประวัติศาสตร์ของเราในเวลานั้นเรียกศิลปะกลุ่มนี้ว่า ศิลปะเขมร มันอาจ
ทําให้ประเทศฝรั่งเศสซึ่งตอนนั้นเป็นเจ้าอาณานิคมของกัมพูชา อาจใช้ความชอบทําเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ว่า
ครั้งหนึ่งประเทศไทยเคยตกอยู่ภายใต้อํานาจทางการเมืองของกัมพูชา ก็น่าจะมีสิทธิ์ครอบครองประเทศไทย
ด้วย จึงหลีกเลี่ยงว่าเป็นศิลปะลพบุรีแทน
• ข้อจํากัดในการศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปะในระยะเริ่มแรก ยังไม่ลงตัวในหลายเรื่อง
2. ศิลปะเขมร (ศิลปะขอม)
• กระแสการแบ่งยุคศิลปะโดยใช้เชื้อชาติ
• คํานึงถึงอํานาจทางการเมืองของอาณาจักรเขมรโบราณที่อยู่เหนือดินแดนไทย ดังนั้นจึงมี
การเรียก ศาสนสถานว่าเขมรหรือขอม
• ความไม่เหมาะสมของชื่อศิลปะลพบุรี เขมรและขอมเป็นชื่อของชนชาติ คําว่า เขมร เป็น
คําที่ชาวกัมพูชาเขาใช้เรียกตัวเองมีปรากฏในจารึกดินแดนกัมพูชามาหลายร้อยปี คําว่า ขอม เป็นคําที่คนใน
ดินแดนประเทศไทยใช้เรียกพวกชาวกัมพูชา ดังนั้นทั่งสองคํามีความหมายเดียวกัน
3. ศิลปะเขมรในประเทศไทย/ ศิลปะร่วมแบบเขมรในประเทศไทย
• ความไม่เหมาะสมของชื่อศิลปะลพบุรี
• ความเป็นเอกลักษณะบางประการของศิลปะที่แตกต่างออกไปจากศิลปะเขมรแท้ๆ ดังนั้น
ควรเติมคําว่าประเทศไทยต่อท้ายเพื่อแยกให้เฉพาะเจาะจงลงไป
• บางครั้งมิได้สร้างขึ้นภายใต้อํานาจของกษัตริย์เขมร เพราะมีชนชั้นนําหรือผู้นําท้องถิ่น
เป็นผู้อุปถัมภ์
การแบ่งยุคสมัยย่อย นักวิชาการแบ่งออกเป็น 2 ยุค ได้แก่
1. สมัยก่อนเมืองพระนคร หมายถึง ช่วงอาณาจักรกัมพูชาโบราณ ยังไม่ได้ตั้งเมืองหลวงอยู่ที่เมือง
พระนคร ( เมืองพระนคร คือ ที่ตั้งของนครวัด นครธม ) ในช่วงสมัยก่อนเมืองพระนคร มีการแบ่งศิลปะ
ออกเป็น ซึ่งเป็นชื่อปราสาทสําคัญๆ ในตอนนั้น
• ศิลปะพนมดา ( พ.ศ.1100-1150 อาณาจักรฟูนัน ) เป็นศิลปะยุคแรกสุดของศิลปะลพบุรี
อาณาจักรฟูนัน คือ อาณาจักรแรกเริ่มในดินแดนประเทศกัมพูชา ที่มีอายุตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 6 - 9 และ 10
• ศิลปะถาราบริวัติ (พ.ศ.1150)
• ศิลปะสมโบร์ไพรกุก (พ.ศ.1150-1200)
• ศิลปะไพรกเมง (พ.ศ. 1180-1250)
• ศิลปะกําพงพระ (พ.ศ. 1250-1350)
• ศิลปะกุเลน (พ.ศ.1370-1420) (หัวเลี้ยวหัวต่อ)
2. สมัยเมืองพระนคร เป็นช่วงที่ชาวกัมพูชามาสร้างเมืองหลวงที่พระนครแล้ว คือ บริเวณเสียมราบ
สามารถแบ่งศิลปะออกเป็น ซึ่งใช้ชื่อศาสนสถานที่สําคัญๆ ในแต่ละช่วงเวลาเป็นชื่อเรียก
• ศิลปะพระโค (พ.ศ. 1420-1440)
• ศิลปะบาแค็ง (พ.ศ. 1440-1470)
• ศิลปะเกาะแกร์ (พ.ศ. 1465-1490)
• ศิลปะแปรรูป (พ.ศ.1490-1510)
• ศิลปะบันทายสรี (พ.ศ.1510-1550)
• ศิลปะคลัง (พ.ศ. 1510-1560)
• ศิลปะบาปวน (พ.ศ. 1560-1630)
• ศิลปะนครวัด ( พ.ศ. 1650-1720) เป็นชื่อที่เอาตัวปราสาทนครวัดเป็นตัวเรียก ถ้าเราชม
โบราณสถานปราสาทหินพิมาย ก็จะบรรยายว่าเป็นศิลปะลพบุรี แบบนครวัด , ปราสาทพนมรุ้งเป็นศิลปะ
ลพบุรี แบบนครวัด ซึ่งศิลปะลพบุรีที่มีอายุสมัยหรือหน้าตาที่อยู่ในช้วงเดียวกับนครวัดก็จะเรียกแบบนครวัด
หรือพระปรางค์สามยอด จังหวัดลพบุรี เป็นศิลปะลพบุรี แบบบายน มีหน้าตาเหมือนปราสาทบายนที่นครวัด
• ศิลปะบายน (พ.ศ. 1720-1780)
การกําหนดอายุยุคสมัยย่อย
• ศิลปะในประเทศเขมรกับในประเทศไทย มีรูปแบบที่เหมือนกันอาจมีอายุเท่ากัน หรือ
เหลื่อมกันเล็กน้อยก็ได้ หมายถึงในสิ่งที่เกิดขึ้น ความนิยมในด้านแบบศิลปะ การสร้างศาสนสถาน วัตถุแบบ
หนึ่งที่เกิดขึ้นในกัมพูชากว่าที่จะส่งอิทธิพลมาถึงประเทศไทยต้องใช้ระยะเวลาเล็กน้อย
• กําหนดอายุจากรูปแบบศิลปะ เช่น ลักษณะลวดลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนทับหลัง
ซึ่งการ จำแนก พระเครื่อง สมัยลพบุรีแต่ปัจจุบันนี้ หรือจะเรียก ศิลปะเขมร
ที่พบในประเทศไทย ก็ยังมีปัญหาเรื่องชื่อเรียกกันอยู่
ความเข้าใจคือเป็นศิลปะเขมรที่พบ เป็นวั�'นธรรมเขมร
ทั้งหมดที่พบในประเทศไทย
ที่พบมากจะมีอยู่ ๓ รุ่นที่
เป็นพระพุทธรูปคือ “รุปนบาปวน นครวัด และบายน”
อันนี้เป็นสมัยนครวัด ดูง่ายนิดเดียวเวลาดูพระพุทธรูป
เราดูจากพระพักตร์ก่อนเป็นอันดับแรก พระพักตร์กลม
พระพักตร์สี่เหลี่ยม พระพักตร์รูปไข่ต้องแยกให้ออก
ก่อนขั้นแรก อย่างของเขมรพระพักตร์สี่เหลี่ยม
หน้าถมึงทึง หน้าค่อนข้างดุเคร่งขรึม พระเนตรเปิด
พระขนง(คิ้ว) ต่อเป็นสันขึ้นมา
ถ้าเป็นนครวัดก็จะมีเทริดที่เป็นกระบังหน้า มีมงกุฏทรงกรวย
มีเครื่องทรงส่วนใหญ่ทํากรองศอ พาหุรัด(กําไลต้นแขน)
อะไรพวกนี้ อันนี้คือสมัยนครวัดก็คือเป็นศิลปะเขมรที่พบใน
ประเทศไทย