รายละเอียด และข้อมูลสินค้า |
"พระสมเด็จปรกโพธิ์ถูกสร้างด้วยกันทั้งหมด 7 พิมพ์ ตามรอบอายุ และวาระต่างๆ คร่าวๆ คือ
- พิมพ์ที่ 1 ที่ท่านสร้างมีใบโพธิ์ 10 ใบ ข้างละ 5 ใบ เมื่อได้สมณศักดิ์เป็นพระครูสามัญ โดยมีชาวบ้านมาช่วยกันทำ ขณะนั้นอายุได้ 39 ปี (ราวๆ พ.ศ.2369)
- พิมพ์ที่ 2 ที่ท่านสร้างมีใบโพธิ์ 11 ใบ ข้างหนึ่ง 5 ใบ (ทางด้านขวาขององค์พระ) และอีกข้างหนึ่ง 6 ใบ (ทางด้านซ้ายขององค์พระ) เมื่อได้สมณศักดิ์เป็นพระครูปริยัติธรรม ขณะนั้นอายุได้ 48 ปี (ราวๆ พ.ศ.2378) สนับสนุนโดยชาวบ้านคนใกล้เคียง
- พิมพ์ที่ 3 มีใบโพธิ์ 14 ใบ ข้างละ 7 ใบ เมื่อได้สมณศักดิ์เป็นพระราชปัญญาภรณ์ ขณะนั้นอายุได้ 56 ปี (ราวๆ พ.ศ.2386) สนับสนุนโดยชาวบ้าน
- พิมพ์ที่ 4 มีใบโพธิ์ทั้งหมด 16 ใบ ข้างละ 8 ใบ เมื่อได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระเทพกวีศรีวสุทธินายก ขณะนั้นอายุได้ 60 ปี (ราวๆ พ.ศ.2390) สนับสนุนโดยชาวบ้าน และช่างหลวงจากวัง
- พิมพ์ที่ 5 มีใบโพธิ์ 17 ใบ ข้างหนึ่ง 8 ใบ (ทางขวาขององค์พระ) และอีกข้างหนึ่ง 9 ใบ (ทางด้านซ้ายองค์พระ) เมื่อได้สมณศักดิ์เป็นพระธรรมกิติโสภณ ขณะนั้นอายุได้ 68 ปี (ราวๆ พ.ศ.2398) สนับสนุนโดยช่างหลวงจากวัง
- พิมพ์ที่ 6 มีใบโพธิ์ทั้งหมด 18 ใบ แบ่งข้างละ 9 ใบ เมื่อได้สมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระพุ�'าจารย์ ขณะนั้นอายุได้ 77 ปี (ราวๆ พ.ศ.2407) สนับสนุนโดยช่างหลวงฝีมือดี
- และสุดท้ายพิมพ์ที่ 7 มีใบโพธิ์ทั้งหมด 18 ใบ แบ่งข้างละ 9 ใบ พอเดาได้ไหมครับว่าใครที่จะเป็นผู้แกะพิมพ์ถวาย ดูว่าเขาคนนี้จะเป็นพระเอกมากครับในเรื่องเกี่ยวกับตำนานการสร้างพระสมเด็จนี่นะครับ แล้วสุดท้ายเขาก็มาครับ หนีไม่พ้นเจ้าเดิม เขาคือหลวงวิจารเจียรนัยครับ ถวายเป็นพิมพ์พระนิพพาน ขณะครองสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระพุ�'าจารย์ เพื่อฉลองอายุครบ 82 ปี (ราวๆ พ.ศ.2412) และได้นำบางส่วนไปบรรจุกรุวัดบางขุนพรหมในด้วย จึงเป็นที่มาของสมเด็จปรกโพธิ์สองคลองในปัจจุบันครับ"
-------
"พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ปรกโพธิ์ว่ากันว่า'หายากยิ่ง
พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ปรกโพธิ์ว่ากันว่า'หายากยิ่งกว่างมเข็มในมหาสมุทร'
พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม พิมพ์ปรกโพธิ์ เป็นพระสมเด็จที่ถูกเถียงกันมากที่สุดในวงการพระเครื่องพระบูชาและเหรียญคณาจารย์ บางท่านก็จัดให้เป็นพิมพ์ของพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม พิมพ์ปรกโพธิ์ ที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุ�'าจารย์ (โต พรหมรังสี) เป็นผู้สร้าง แต่บางท่านก็ไม่ยอมรับ โดยให้เหตุผลว่าขาดหลักฐานยืนยันและไม่มีเอกลักษณ์อันสำคัญของพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม เหมือนเช่นพระสมเด็จพิมพ์ใหญ่ พิมพ์ทรงเจดีย์ พิมพ์ฐานแซม และพิมพ์เกศบัวตูม ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะของพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม เช่น
มวลสารพระพุทธคุณ การตัดขอบทั้ง ๔ ด้าน ความหดตัวของมวลสารจนปรากฏร่องรอยของเม็ดพระธาตุ รอยรูพรุนเข็มรอยหนอนด้น รอยปูไต่ และรายละเอียดอื่นๆ อีกหลายประเด็น และอีกเหตุผลหนึ่งก็คือพระสมเด็จ พิมพ์ปรกโพธิ์ เป็นพระที่มีจำนวนน้อยมาก ยิ่งกว่างมเข็มในมหาสมุทร จึงทำให้วงการพระเครื่องไทยเรายังไม่จัดให้พิมพ์ปรกโพธิ์ที่พบอยู่ทั่วไปเป็นพิมพ์มาตรฐานของพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตารามที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จเป็นผู้สร้าง ส่วนใหญ่จะอนุโลมให้เป็นของวัดบางขุนพรหม
ตำหนิศิลปะแม่พิมพ์ของโพธิ์จะปรากฏช่อโพธิ์อยู่ประมาณ �'๐ ช่อ ครอบคลุมอยู่ด้านบนและด้านข้างของพระเศียรพระประธาน
สำหรับการพิมพ์ด้านหลังขององค์พระมีเพียงพิมพ์เดียวเท่านั้นคือ “พิมพ์หลังเรียบ”
พุทธศิลปะขององค์พระประธานและฐานทั้ง ๓ ชั้น จะหนาใหญ่ สง่างาม คล้ายพิมพ์เกศบัวตูม สังเกตได้จากลำพระกรจะอวบอ้วน พระเพลา (หน้าตัก) จะหนาใหญ่ ฐานทั้ง ๓ ชั้น จะหนาและใหญ่กว่าพระสมเด็จวัดยางขุนพรหม (วัดใหม่อมตรส) พิมพ์อื่นๆ หากตัดซุ้มโพธิ์ออก ศิลปะจะเป็นพระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์เกศบัวตูม
อย่างไรก็ตามพึงระลึกไว้เสมอตามคำของโบราณาจารย์ว่า พระสมเด็จ พิมพ์ปรกโพธิ์ นั้น หายากยิ่งกว่างมเข็มในมหาสมุทรเสียอีก